วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พิธีถอดถอนขันธ์/ถอดถอนองค์

ผู้ที่ถูกหลอกให้หลงไปรับเงื่อนไขสัญญาทาสจากสำนักทรงต่างๆ ให้จำยอมรับขันธ์รับองค์
กลายเป็นสาวกตลอดชีพของบรรดาเจ้าพ่อเจ้าแม่พ่อเฒ่าแม่เฒ่าพ่อแก่แม่แก่หลวงปู่หลวงพ่อมารากุมารีทั้งหลายเป็นเรื่องของความโง่ที่น่าเวทนาเป็นอย่างยิ่งมีบ้างเหมือนกันที่รับเพราะไม่รู้หรือถูกหลอกให้รับส่วนใหญ่มักอ้างว่าที่รับเพราะถ้าไม่รับก็ต้องตายเนื่องจากการเจ็บป่วยที่แพทย์ไม่สามารถรักษาได้แล้ว(ผมจะไม่ย้อนกลับไปกล่าวถึงที่มาอีกเพราะได้เคยบอกเล่าให้ทราบโดยละเอียดแล้ว)
การรับขันธ์รับองค์สมัยนี้แตกต่างจากสมัยก่อนมากมีการรับขันธ์รับองค์กันในระยะสั้นต้องมีการต่ออายุเปลี่ยนขันธ์ใหม่เป็นรายปีค่ารับขันธ์แต่ละปีเป็นพันหรือมากกว่านั้นขึ้นไปสมัยอาจารย์ผมเป็นเด็กเล่าว่า การรับขันธ์รับองค์ค่าครูจ่ายครั้งเดียว 3-5-7-6-9 สลึงหรือบาท อย่างแพงที่สุด 32 บาท จ่ายครั้งเดียวคุ้มครองตลอดชีวิตเทวดามาเฟียแต่ละสำนักในยุคนี้มีทั้งขู่ทั้งปลอบจ่ายช้าเกินเวลาไม่รับรองความปลอดภัยเมื่อมีการรับขันธ์รับองค์กันได้ก็ต้องมีการถอนขันธ์ถอนองค์กันได้เหมือนกัน
เรียนรู้เรื่องพรหมศาสตร์วิญญาณศาสตร์เทวศาสตร์ผ่านการฝึกพลังอำนาจจิตมาจนถึงระดับนี้แล้วเลิกก้มหัวให้พวกเทวดาผีห่าซาตานกันเสียทีเถอะครับเรียนวิชามาทั้งทีไม่มีโอกาสใช้จะเรียนไปหาอะไรกัน ?
เป้าหมายในการทดลองทดสอบวิชาก็คือพวกบรรดาเทวดาผีห่าซาตานที่คุณเคยก้มหัวให้พวกมันนั่นแหละครับฉีกสัญญาทาสประกาศอิสรภาพก่อนอื่นต้องหาพวกหาพันธะมิตรเข้ามาร่วมรับรู้ในการประกาศอิสรภาพของคุณเสียก่อนครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดสรรพวิชาให้คุณองค์มหาพรหมนุษยักษ์ธรรมบาลเทวาทุกระดับ(สวดบทชุมนุมเทวดา)
……………………………..
พระคาถานวหรคุณเก้า
อะ - อะ
อะสัง - สังอะ
อะสังวิ - วิสังอะ
อะสังวิสุ - สุวิสังอะ
อะสังวิสุโล - โลสุวิสังอะ
อะสังวิสุโลปุ - ปุโลสุวิสังอะ
อะสังวิสุโลปุสะ - สะปุโลสุวิสังอะ
อะสังวิสุโลปุสะพุ – พุสะปุโลสุวิสังอะ
อะสังวิสุโลปุสะพุพะ - พะพุสะปุโลสุวิสังอะ
………………………………

พระคาถาอิติปิโสเดินหน้า (อิติปิโสธรรมดา)
อิติปิโส ภะคะวา
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต
โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ
และ

พระคาถาอิติปิโสถอยหลัง
ติวาคะภะ โธพุท
นังสานุสมะวะเท ถาสัต
ถิระสามะธัมสะริปุ โรตะนุตอะ ทูวิกะโล
โตคะสุ โนปันสัม ณะระจะชาวิช
โธพุทสัมมาสัม หังระอะ
วาคะภะ โสปิติอิ
ต่อด้วย

พระคาถาถอนโบสถ์ถอนเสมา /ถอดถอนศาล
สะมุหะเนยยะ สะมุหะนะติ
สะมุหะคะโต สีมาคะตัง
พัทธะเสมายัง
สะมุหะนิตัพโพ เอวัง เอหิ
นะถอด โมถอน
พุทคลอน ธาเคลื่อน
ยะเลื่อนหลุดหาย ฯ

แล้วกล่าวคำอธิษฐานจิตประกาศตัดขาดจากสัญญาทาสตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปคำมั่นสัญญาใดๆที่เคยให้ไว้ต่อกันกับ(เจ้าพ่อเจ้าแม่หลวงปู่หลวงพ่อพ่อแก่แม่เฒ่าทั้งหลาย) ให้ถือเป็นอันโมฆะต่อกันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
virojanaramhttp://www.facebook.com/1111111kiyhbh?ref=tn_tnmn#!/1111111kiyhbh

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นจริง ๒ ด้านของมนุษย์

เป็นผู้ที่ถูกสร้าง และสามารถสร้างได้ด้วย ซึ่งแตกต่างจากเครื่องจักร ซึ่งเครื่องจักรเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อสร้างสิ่งอื่น ๆ แต่ตัวมันเองไม่สามารถสร้างด้วยความคิดของตัวเองได้ แต่มนุษย์สามารถริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้ มนุษย์มีลักษณะตามพระฉายาของพระเจ้า และหนึ่งในฉายานั้น ก็คือ ความสามารถในการสร้าง บางคนอาจจะไม่เชื่อว่า พระเจ้าจะสามารถสร้างทุกสิ่งทุกอย่างได้ ไม่น่าที่จะสร้างสิ่งต่าง ๆ จากสิ่งว่างเปล่าได้ จะขอยกตัวอย่างเช่น สถาปนิก เมื่อออกแบบ ยังไม่เห็นตัวบ้าน เพียงแค่คิดเท่านั้นเอง
มาจากดิน และได้รับวิญญาณจากพระเจ้า มนุษย์คนเรานั้น เมื่อตายไป ก็จะถูกเผา เหลือเพียงนิดเดียว ขี้เถ้า เมื่อมีชีวิตนั้น ถ้าจะตีราคาตามวัตถุนั้นเป็นมูลค่า ก็มีค่าเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง แต่ทว่าคุณค่าของเรานั้น อยู่ที่ชีวิตของเรามากกว่า ด้านจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่เรามีทั้งร่างกาย และวิญญาณ ที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่เรา
มนุษย์เป็นคนบาป แต่ก็เป็นพระฉายาของพระเจ้า เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นคนบาป แต่ก็ยังคงเป็นพระฉายาของพระเจ้าเช่นเดียวกัน แม้คนที่ไม่รู้จักรพะเจ้าก็ตาม ก็ยังคงเป็นพระฉายาของพระเจ้า
ต้องการความช่วยเหลือจากทูตสวรรค์ แต่จะเป็นผู้พิพากษาทูตสวรรค์ ในสถานะปัจจุบัน เราอยู่ต่ำกว่าทูตสวรรค์ แต่ทว่าเราก็กลับกลายเป็นผู้พิพากษาทูตสวรรค์ในอนาคต ซึ่งเป็น 2 ด้าน ทั้งด้านที่อ่อนแอ และด้านที่เข้มแข็ง
พระเจ้าทรงรักมนุษย์ แต่ก็ต้องลงโทษมนุษย์เมื่อทำบาป ทั้งนี้ เนื่องจากพระเจ้าทรงความยุติธรรม พระเจ้าจึงต้องลงโทษ ซึ่งแสดงออกเป็นพระพิโรธ แต่ในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงเป็นความรัก ซึ่งต่างจากพระเจ้าในสมัยโบราณ พวกเทพเจ้าต่าง ๆ ซึ่งพวกเทพเจ้าเหล่านั้น จะมีลักษณะได้เดียวอย่างเดียว เช่น พระเจ้าแห่งสงคราม พระเจ้าแห่งความรัก เป็นต้น ก็จะเป็นได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่ทว่าพระเจ้าของเรา พระองค์ทรงกริ้วช้า และรักมั่นคงอยู่นาน คือพระองค์มีทั้ง 2 ลักษณะ แต่พระลักษณะหลักของพระองค์ คือ ความรัก พระองค์ไม่ทรงมีพระพิโรธอยู่นาน
มนุษย์ได้รับการยกย่อง และถูกมองว่าไร้ค่า มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่สามารถนมัสการได้ จึงเป็นสัตว์ประเสริฐ ไม่เหมือนสัตว์อื่น ๆ และเราแต่ละคนนั้นมีค่า แม้เพียงว่าเรามีเพียงคนเดียวในโลกนี้ พระเยซูคริสต์ก็จะยังคงทรงเสด็จมาตายแทนเรา แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็เป็น มตะ สามารถสูญสลายไปได้ เปรียบเหมือนดอกหญ้า ดังที่พระคัมภีร์ ปัญญาจารย์ได้กล่าวถึงว่า "อนิจจัง"
มนุษย์ไม่ได้เกิดจากวิวัฒนาการ
DNA หรือ Code พันธุกรรม บอกให้เรารู้ว่าสิ่งมีชีวิตถูกกำหนดลักษระไว้ล่วงหน้านานแล้ว ชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยสภาวะแวดล้อม ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางด้านกฎหมายได้ ในการพิสูจน์หาผู้กระทำผิด เพราะไม่ซ้ำกับใคร บ่งบอกถึงว่า สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต ได้ถูกกำหนดขึ้นมาไว้แล้ว ว่าจะมีลักษณะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร แม้แต่ฝาแฝด ก็ยังคงมีความแตกต่างกัน ซึ่งล้วนถูกกำหนดล่วงหน้าโดย DNA แล้ว ดังนั้น จึงขัดแย้งกับวิวัฒนาการ เพราะว่า DNA ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะได้เจอกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่สิ่งแวดล้อม มาเปลี่ยนเรา
การผ่าเหล่า หรือ Mutation ไม่สามารถทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ ซึ่งสิ่งนี้สามารถยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน คือ ม้า และลา ก็ผสมกันเป็นล่อ แต่ล่อก็ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่ Mutation จะทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตใหม่ได้
สัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์ไป เพราะมันไม่ถูกออกแบบมาสำหรับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังเช่น ไดโนเสาร์
เด็กทีผิดปกติมักจะแท้ง หรือเมื่อคลอดออกมาก็จะอยู่ได้ไม่นาน
ทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นการคาดเดา จะขอโยงถึงความแตกต่างระหว่าง ประวัติศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์นั้น จะเป็นสิ่งที่สามารถทำซ้ำ ๆ กันได้ และอาจจะมีสิ่งที่ตรวจสอบยืนยันว่าเป็นอะไร และมีทั้งสิ่งที่ยังคงเป็นการคาดเดาอยู่ แต่ประวัติศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่แน่นอน
Behavioral Genetics
มนุษย์แต่ละคน สามารถผลิดไข่ได้ 103000 ฟอง หรือเชื้ออสุจิได้ในจำนวนเดียวกัน ทั้งไข่และอสุจิแต่ละฟองหรือแต่ละตีวนั้น จะมียีนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเจาะจง ดังนั้น ไข่แต่ละฟองที่ถูกเชื้ออสุจิแต่ละตัวนผสมนั้น โอกาสที่พันธุกรรมของเราแต่ละคนจะไปเหมือนหรือซ้ำกับคนอื่นในโลกนี้นั้น เล็กน้อยเหลือประมาณ เราแต่ละคนเป็นบุคคลที่พระเจ้าทรงสร้างไว้อย่างเฉพาะเจาะจง เราก็คือเรา จะไม่มีใครเลียนแบบชีวิตได้เหมือน ดังที่มีคนกล่าวไว้ คือ เมื่อพระเจ้าสร้างเราเสร็จ พระองค์ก็จะทรงทำลายแม่พิมพ์ทิ้งไป ไม่มีใครที่จะสามารถมา copy แบบของเราได้
มนุษย์ในภาษาฮีบรู
มีหลายคำ อาทิเช่น
อาดัม หมายถึง มนุษย์ หรือชื่อของอาดัม บุตรมนุษย์ ซึ่งก็คือมนุษย์นั่นเอง โดยคำนี้เป็นคำที่พระเยซูคริสต์ทรงใช้อ้างถึงพระองค์เอง หมายถึง มนุษย์ ที่พระองค์ทรงใช้คำนี้ เนื่องจากพระองค์ทรงต้องการเน้นย้ำว่า พระองค์เป็นมนุษย์แท้ เพราะพระองค์ทรงเป็นมนุษย์และพระเจ้าในคนเดียวกัน
อิช หมายถึง ผู้ชาย หรืออาจแปลว่าสามี
อาโนช หมายถึง มนุษย์ทั่วไป หรืออาจหมายถึง มนุษย์ที่ต้องตาย แต่จริง ๆ แล้วพระองค์ทรงสร้างมนุษย์แล้วไม่ต้องตาย แต่เพราะความบาปจึงทำให้เราต้องตาย ยกเว้นเพียง 2 คน คือ อาโนค และ เอลียา จะเห็นได้ว่า คนเราพยายามจะมีชีวิตยืนยาว หรือมีชีวิตอมตะ นิรันดร์ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง ว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์ถูกกำหนดมาให้มีชีวิตอมตะ
กาบา มักใช้หมายถึง ผู้ชายที่แข็งแรงกว่าเด็กและผู้หญิง หรืออาจจะใช้พูดถึงนักรบ
มาชิม หมายถึง มนุษย์ทั่วไป รวมถึง ผู้ชายและประชาชน
เนเฟช มักจะถูกแปลว่าวิญญาณ หรือ Soul เนื่องจากคนส่วนใหญ่ จะเชื่อว่ามนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ แต่คำ ๆ นี้ จะพูดถึงตัวตนทั้งหมด ไม่ใช่เพียงจิตวิญญาณ หรือ เพียงร่างกาย หรือจิตใจ ก็คือ คนที่มีวิญญาณของพระเจ้า
ถ้าจะนิยามด้วยความคิดของเรา ก็คือ "ผู้ที่ถูกพระเจ้าสร้าง มีพระฉายาของพระองค์ และมีพระวิญญาณของพระองค์"
Max Lucado ชี้ให้เราเห็นว่ามนุษย์แต่ละคนมีลักษณะดังนี้
เราแต่ละคนไม่ซ้ำกับใคร และไม่มีใครเหมือนเรา พระเจ้ามีพระประสงค์อย่างเฉพาะเจาะจงให้มนุษย์แต่ละคน พระเจ้าทรงสร้างออกแบบชีวิตเราแต่ละคนเป็นพิเศษ (custom design) พระเจ้าจงใจที่จะสร้างเราขึ้นมา และเราเป็นของขวัญให้กับสังคมที่เราอยู่ ถ้าเราเข้าใจหลักการนี้แล้ว เราก็จะไม่น้อยใจว่าทำไมเราจึงไม่เท่าคนอื่น ไม่เก่งในบางเรื่องเท่าคนอื่น หรือไม่ดีเท่าคนอื่น เพราะว่า พระเจ้าทรงสร้างเรา ออกแบบชีวิตของเราเป็นพิเศษ พระองค์จะให้เราอย่างเหมาะสม พอเพียง และดีที่สุดสำหรับเราแล้ว
เราแต่ละคนมีของประทานต่าง ๆ กัน และของพระทานเหล่านั้น พระองค์ทรงประทานมาเพื่อคนอื่น เพื่อพระวรกายของพระองค์ ในทำนองเดียวกัน เราถูกกำหนดให้เกิดขึ้นมาในโลกนี้ เราจะต้องกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อโลกนี้ และเพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้า


ศจ. ดร. เสรี หล่อกัณภัย .หลักสูตรศาสนศาสตร์ระยะสั้น สำหรับคณะเพื่อคุณ คริสตจักรสะพานเหลือง
เรื่อง ศาสนศาสตร์เรื่องมนุษย์.2007.
http://www.followhissteps.com/web_christianstories/Sermons/theologyforyou2.html .25 ก.ย. 53,09.40น.



virojanaram

สาเหตุและผลของการสังคายนาครั้งที่ 1, 2, 3

การสังคายนาครั้งที่ 1
สาเหตุผลการสังคายนา :
1. ปรารภพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย
2. เพื่อความยั่งยืนของพระธรรมวินัย และความถูกต้อง
3. เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ทำเมื่อ : พระศาสดาปรินิพพานล่วงแล้วได้ 3 เดือน
สถานที่ทำ : กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต
เวลาทำ : ทำอยู่ 7 เดือนจึงสำเร็จ
การกสงฆ์ : พระอรหันต์ขีณาสพ 500 รูป
ประธานสงฆ์ : พระมหากัสสปเถระ
ผู้วิสัชชนาพระวินัย : พระอุบาลีเถระ
ผู้วิสัชชนาพระธรรม : พระอานนท์เถระ
ผู้อุปถัมภ์ : พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งกรุงราชคฤห์
มีผลที่สำคัญ 5 อย่างคือ
1. มีการร้อยกรองพระวินัยเป็นหมวดหมู่ โดยการนำของพระอุบาลี
2. มีการรวบรวมพระธรรมเป็นหมวดหมู่ โดยการนำของพระอานนท์
3. การปรับอาบัติพระอานนท์ให้แสดงอาบัติ
4. การลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ
5. การยอมรับมติของพระมหากัสสปะให้คงเถรวาทไว้
สังคายนาครั้งที่ 2
สาเหตุผลการสังคายนะ : ปรารภเหล่าภิกษุชาววัชชีบุตร ชาวเมืองไพศาลี มีความต้องการจะเลี่ยงพระวินัยจึงแสดงวัตถุ 10 ประการซึ่งขัดกับหลักพระธรรมวินัย
ทำเมื่อ : พระพุทธศักราช 100 ปี
สถานที่ทำ : ณ วาลุการาม เมืองไพศาลี เพื่อชำระวัตถุ 10 ประการ
เวลาทำ : ทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จ
ประธานสงฆ์ : พระยสกากัณฑกบุตร
การกสงฆ์ : พระอรหันตขีณาสพ 700 รูป
ผู้ถาม : พระสัพพากามีเถระ
ผู้แก้ : พระเรวตเถระ
ผู้อุปถัมภ์ : พระเจ้ากาลาโศกราช แห่งกรุงไพศาลี
1. ในแง่ของเถรวาทกล่าวได้ว่าสามารถชำระความถูกต้องของการตีความวินัยผิดให้ถูกต้องได้
2. ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความคิด (Schism) ในพุทธศาสนา
3. เป็นบ่อเกิดของนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งไม่ยอมรับมติของสังคายนาครั้งนี้
สังคายนา ครั้งที่ 3
สาเหตุผลของการสังคายนา : ปรารภเหล่าเดียรถีย์ประมาณ 60,000 คน เข้ามาปลอมบวชในพระพุทธศาสนาเพื่อหวังลาภสักการะ
เวลาที่ทำ : นับแต่พุทธปรินิพพานมา 238 ปี
สถานที่ทำ : ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
เวลาทำ : ทำอยู่ตลอด 9 เดือนจึงสำเร็จ
การกสงฆ์ : พระมหาเถระ จำนวน 1,000 รูป
ผู้ปุจฉา : พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระเจ้า ผู้เป็นประธาน
ผู้วิสัชชนา : พระมัชฌันติกเถระ กับพระมหาเทวะเถระ
ผู้อุปถัมภ์ : พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ผ่านเอกราช ณ ปาฏลีบุตรนคร
1.สามารถขจัดอลัชชีในพระศาสนาได้ และรวบรวมพระธรรมวินัยให้เป็นบริสุทธิ์ผุดผ่อง
2. มีการรวบรวมแยกพระไตรปิฎกเป็น ๓ อย่างคือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก โดยเฉพาะได้บรรจุคัมภีร์กถาวัตถุ เข้าในอภิธรรมปิฎกด้วย
3.ได้มีการส่งพระมหาเถระออกไปเป็นพระธรรมทูตในเมืองต่างๆ ถึง 9 สาย สืบต่อพระศาสนามาจนถึงปัจจุบันในนานาประเทศ
คณะสมณทูต 9 สาย คือ
สายที่ 1 คณะพระมัชฌันติกะ ไปที่แคว้นกัสมิระ และคันธาระ ปัจจุบันคือ แคชเมียร์
สายที่ 2 คณะพระมหาเทวะ ไปมหิสมณฑล คือรัฐการ์นาตกะ/ไมซอร์ ภาคใต้ของอินเดีย ฝั่งตะวันตก
สายที่ 3 คณะพระรักขิตะ ไปที่แคว้นวนวาสีประเทศ อยู่ตอนเหนือของรัฐไมซอร์ ภาคใต้ของอินเดีย
สายที่ 4 คณะพระธรรมรักขิตะ ไปที่แถบอปรันตกชนบท ตอนเหนือของบอมเบย์
สายที่ 5 คณะพระมหาธรรมรักขิตะ ไปแคว้นมหาราฎร์ แถบปูนาในปัจจุบัน
สายที่ 6 คณะพระมหารักขิตะ ไปที่โยนกประเทศ หรือตอนเหนือของอิหร่าน
สายที่ 7 คณะพระมัชฌิมะ ไปยังดินแดนหิมวันตะ หรือเชิงเขาหิมาลัย ประเทศเนปาลปัจจุบัน
สายที่ 8 คณะพระโสณะ กับพระอุตตระ ไปที่สุวรรณภูมิคือเอเชียอาคเนย์ปัจจุบัน
สายที่ 9 พระมหินทเถระ ไปยังประเทศศรีลังกา ในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
virojanaram

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

ตามรอยครูบาศรีวิชัย


ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย)๔.นางแว่น๕.นายทา
ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน
ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่าพระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย
เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ของท่าน
ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑ พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน
ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก
ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันใน ระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถ หรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่า และการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถ โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯเมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา
ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตน โดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖) เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณี ความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้อำเภอลี้จังหวัดลำพูนเป็นต้น
การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้ จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติง นายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ การจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)
การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก (พ.ศ.๒๔๔๖) และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้น บทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครอง ดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบท เมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้ ๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครู มหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้ เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้น ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกัน เพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไป พระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวน ครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง ๒๓ วัน จึงได้รับการปล่อยตัว
ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้ พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปาง ซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกัน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปี พระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัด หรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป พร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี
อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)
อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง ๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาสรีวิชัยจึงขยายออกไป นับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์ ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง คำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า และใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วัน พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด เมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูน เรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โต การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง อุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่ โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)
ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วย ก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพ ตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก ทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้ เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิด และให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้ เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้ว ชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบา ดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล
อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)
การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอย สุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐ แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน เมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนั้น ทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึก อธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการ ท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน
กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมา ตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย แต่ในช่วงเวลานั้น ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา
การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปน ตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ" คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มาก เงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุ งานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง"
ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดมีว่า เมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใดแล้ว ทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบา คืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่าง อำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก" คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงิน แต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก" ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ ราย คับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวัน และในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติ เมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้ว ครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้ โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลย ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัย เชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้น ผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ ราย เมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔ วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓ หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้น ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย ต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง
ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น หลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สอง และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน
ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑ มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปี คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาท รวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาท นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน ๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้ แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมาย แต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ
ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น
วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย
ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่างๆซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์
ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ"ตนบุญ"เป็นสำคัญ
(เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)
วัดวิโรจนาราม

ก่อนอื่น ขอมาทำความเข้าใจในเบื้องต้นให้ตรงกันสักเล็กน้อย ก่อนว่า



สมาธิ คือ อะไร
สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำรวมใจให้แน่วแน่ เพื่อเพ็งเล็งในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยพิจารณาอย่างเคร่งเครียดเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสิ่งนั้น นั่นคือความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ที่ได้ให้ความหมายไว้
คราวนี้ ลองมาดูความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 11 ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ได้ให้ความหมายของคำว่า สมาธิ หมายถึง ความมีใจตั้งมั่น ความตั้งมั่นคงแห่งจิต การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

ประโยชน์ของสมาธิ
ตามปกติ มนุษย์หรือสัตว์นั้นมีสมาธิโดยธรรมชาติในตัวอยู่แล้ว เช่น ในการวาดเขียนวงกลม หรือ แมวที่จ้องตะครุบหนู นั่นเป็นสมาธิโดยธรรมชาติแต่จะยิ่งดีมากขึ้น ถ้าได้รับการฝึกฝนและทำซ้ำบ่อย ๆ จนเคยชินยังมีผู้เข้าใจผิดว่า สมาธิเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ที่จริงแล้ว นายแพทย์เฉกธนะสิริ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "สมาธิกับคุณภาพชีวิต" ว่า สมาธิเป็นเรื่องของธรรมชาติโดยแท้ ไม่เกี่ยวกับศาสนา สมาธิสามารถจะฝึกหัดปฏิบัติกันได้ ทุกชาติทุกภาษาและทุกศาสนา อันแตกต่างไปจากคำว่า วิปัสสนาหรือวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของพุทธศาสนา โดยเฉพาะศาสนาอื่นไม่มีกล่าวไว้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ค้นพบวิถีทางด้วยพระองค์เอง
นายแพทย์เฉก ได้กล่าวต่อไปอีกว่า สมาธินั้น สามารถนำเอาไปใช้ทั้งทางที่ดีและทางที่ชั่ว ถ้าสมาธิถูกนำไปใช้ในทางที่ดี เรียกว่า สัมมาสมาธิถ้าสมาธิถูกนำไปไปใช้ในทางที่ชั่ว เรียกว่า มิจฉาสมาธิ
ส่วนประโยชน์ของสมาธิ นายแพทย์เฉก ได้กล่าวว่า ตามหลักทางพุทธศาสนา มี 4 ประการ
1. เพื่อความสุขทันตาเห็น เป็นประโยชน์ขั้นต้น ขณะที่มีขณิกะสมาธิ คือ เมื่อจิตรวมตัวกันนิ่งดีนั้น เราจะรู้สึก มีความอิ่มเอิบใจ และเกิด ความสุขความสบายใจที่เกิดขึ้นจากจิตว่างชั่วขณะ ด้วยอำนาจของ สมาธิข่มทับไว้
2. เพื่อความสมบูรณ์ของสติสัมปชัญญะ คือทำให้มีสติ คือความระลึกได้ และสัมปชัญญะ คือความรู้ตัวเองตลอดเวลาไม่เกิดความประมาท จะคิด จะพูดจะทำกิจการใด ก็รอบคอบว่องไว มีความจำดี ตัดสินใจได้รวดเร็ว และตัดสินด้วยเหตุและผล ปฏิภาณเฉียบแหลมและว่องไว และที่สำคัญ ที่สุดคือ ความมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในการดำเนินชีวิตและเป็นแสง ส่องทางเพื่อการปฏิบัติธรรมให้ลึกซึ้งต่อไป
3. เพื่อให้กิเลสลดน้อยและหมดไป หมายถึง การห่ำหั่นกิเลสภายในจิตใจ ให้บรรเทาเบาบางจนหมดไปในที่สุด นั่นคือ บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน
4. เพื่ออำนาจอันเป็นทิพย์ โดยเฉพาะบางคนอาจเกิดมีอำนาจทิพย์ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ หรืออำนาจพิเศษเหนือกว่าธรรมชาติ ที่เรียกว่า อภิญญา ถ้าเกิดหลงติดอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เดรัจฉานวิชา ไม่สามารถจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย
ส่วนประโยชน์ของสมาธิ ทางโลก มี 7 ประการ
1. เพื่อใช้ในการต่อสู้การรบและเสริมให้เกิดความกล้าหาญ
2. เพื่อประกอบกิจการงานและการดำรงชีวิต
3. เพื่อการศึกษาเล่าเรียน ความประพฤติและการเข้าใจตัวเอง
4. เพื่อการกีฬา
5. เพื่อการรักษาโรคให้แก่ตัวเอง
6. เพื่อการรักษาโรคให้แก่ผู้อื่น
7. เพื่อการเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่

ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ" ว่า

ก่อนฝึกสมาธิที่โรงเรียน ผมสอบได้ที่โหล่ทุกวิชา เพราะว่าไม่ค่อยสนใจอะไร ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน เป็นเด็กเกเร ชอบชกต่อย แต่หลังจากได้ฝึกสมาธิมาระยะหนึ่ง ปรากฏว่า ความจำดีมาก มีสมาธิในการเรียนมากขึ้นเวลาคุณครูสอนอะไร เราจำได้และสอบได้ดีขึ้น ปรากฏว่า หลังจากนั้นไม่นานเริ่มสอบได้ที่หนึ่งทุกวิชา จากที่โหล่มาเป็นที่หนึ่งเลยครับ และจากเด็กที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ความโกรธ ความโมโห ตอนนี้กลายเป็นคนที่ยิ้มตลอดเวลา เดินไปเดินมาก็ยิ้ม ให้คนโน้นคนนี้ ใครจะมายั่วอย่างไร ใครจะมาด่า ใครจะมาว่า ตอนนี้ไม่สนใจแล้ว ได้แต่ยิ้ม เราไม่โกรธ เราไม่โมโหโคร เริ่มควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้นมากทีเดียว เรื่องการเรียนดีขึ้น
สำหรับเบื้องหลังความสำเร็จของการคิดค้นระบบที่ควบคุมยานอวกาศให้ร่อนลงโดยอัตโนมัติสู่พื้นผิวของดาวอังคาร นั้น ดร. อาจอง ได้กล่าวว่า เมื่อสร้างเสร็จ องค์การนาซ่าได้นำไปทดสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ ทำให้ยานอวกาศพัง ให้กลับไปทำใหม่ ก็พยายามกลับมาวิจัย วิเคราะห์ ออกแบบใหม่ แล้วจึงนำไปให้องค์การทดสอบใหม่ ปรากฏว่า ใช้ไม่ได้ถึง 3 ครั้ง โครงการส่งยานอวกาศไปดาวอังคารนี้ ประธานาธิบดีก็ได้เร่งรัดมา บอกว่าล่าช้าแล้ว และส่วนอื่นของยานอวกาศก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ส่วนของ ดร. อาจอง เท่านั้น
เมื่อคิดมากแล้ว คิดไม่ออก ก็เลยเลิกคิดชั่วคราว เลยปีนขึ้นไปอยู่บนภูเขาในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา แล้วไปนั่งเฉย ๆ คนเดียว พยายามปล่อยวางทุกอย่าง แล้วก็หันจิตใจเข้ามาในตัวเรา พอจิตว่าง ความรู้มันก็เกิดขึ้นมาเฉย ๆ แว้บเข้ามาว่าจะสร้างอย่างไร ก็เลยดีอกดีใจ วิ่งลงมาจากภูเขา วิ่งกลับเข้ามาในห้องทดลอง และก็สร้างตามที่เข้าใจบนยอดเขาเสร็จแล้วก็เอาไปยื่นให้องค์การนาซ่า เมื่อทดสอบแล้ว เขาดีอกดีใจกันใหญ่บอกว่าใช้ได้แล้ว ใช้ได้แล้ว เขาเลยให้สร้าง 3 ชุดด้วยกัน เขาเอาไปประกอบในยานอวกาศไวกิ้ง 1 และเก็บไว้เป็นตัวสำรองในยานอวกาศไวกิ้ง 2 และไวกิ้ง 3 ปรากฏว่า ประสบผลสำเร็จอย่างงดงามดี ควบคุมยานอวกาศให้ค่อย ๆ ร่อนลงสู่พื้นผิวของดาวอังคารโดยไม่เกิดปัญหาอะไรเลยนี่แหละคือประโยชน์ของการฝึกสมาธิโดยแท้จริง เมื่อฝึกสมาธิให้จิตสงบแล้ว ความรู้มันเกิดขึ้น ปัญญามันเกิดขึ้น
ดร. อาจอง ยังได้กล่าวต่อไปว่า ถ้าเผื่อเราได้ปลูกฝังการฝึกสมาธิให้กับเด็ก ๆ ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ รับรองว่าเด็กคนนั้นจะเก่งอย่างมากทีเดียว เขาจะมีสติปัญญาสูงขึ้น พอโตขึ้นมาเขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งในโลกเขาจะเป็นนักการเมืองที่มีคุณธรรม และเขาจะมีความสามารถพิเศษคนหนึ่งเขาจะทำอะไรก็ได้ เขาจะเป็นนักธุรกิจ เขาก็จะสามารถบริหารงานได้ประสบความสำเร็จที่ดีที่สุด เขาจะมีปัญญาในตัวของเขา

วิธีทดสอบความไม่มีสมาธิ ในเบื้องต้น
1. จิตไม่สงบ ฟุ้งซ่าน หดหู่ เศร้าหมอง
2. มีความเครียด
3. มีความกลัว ระแวง
4. ความจำไม่ค่อยดี ลืมโน่น เผลอนี่
5. ใจลอยบ่อย ไม่ค่อยมีสติ หรือขาดสติ
6. นอนไม่ค่อยหลับ
7. คิดมาก คิดวกวน สับสน
8. ทำงานมักผิดพลาดบ่อย
9. เรียนหนังสือไม่ค่อยรู้เรื่อง
10. มองท้องฟ้าก็ไม่แจ่มใส มองอะไรก็มัว ๆ ไม่แจ่มชัด
11. ไม่ค่อยสดชื่น แจ่มใส ร่าเริง
วิธีเพิ่มพลังสมาธิ ให้จิตสงบตั้งมั่น
1. จิตนั้น โดยปกติไม่สงบ ดิ้นรนกวัดแกว่งกระสับกระส่าย เพราะนิวรณ์ คือกิเลส เป็นเครื่องกั้น วิธีปฏิบัติทำจิตให้สงบนั้น ก็คือ สมถกรรมฐาน ทำจิตให้ตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์ของสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่น จิตจึงสงบลงได้
2. พยายามข่มนิวรณ์ให้ลง ถ้าข่มนิวรณ์ลงได้ จิตก็เป็นสมาธิ นิวรณ์ มี 5 คือ กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ) พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล) และวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
3. กายคตาสติ อสุภกรรมฐาน แก้กามฉันทะ (ต้องมีโยนิโสมนสิการด้วย) เมตตา แก้พยาบาท (ต้องมีโยนิโสมนสิการด้วย) อาโลกสัญญา พุทธานุสสติ แก้ถีนมิทธะ (ต้องมีโยนิโสมนสิการด้วย) อานาปานสติ แก้อุทธัจจกุกกุจจะ (ต้องมีโยนิโสมนสิการด้วย) ธาตุกรรมฐาน แก้วิจิกิจฉา (ต้องมีโยนิโสมนสิการด้วย)
(หมายเหตุ โยนิโสมนสิการ ความกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย หมาย ความว่า ความรู้จักเหตุที่จะให้เกิดผล)
4. ขณะปฏิบัติงาน บางครั้งเกิดความเบื่อหน่าย ทำสมาธิในขณะเบื่อหน่าย พิจารณาความรู้สึก การทำงาน ส่วนประกอบของความเบื่อ หากรู้สึก โกรธ ทำสมาธิในขณะโกรธ สำรวจกลไกของความโกรธ อย่าวิ่งหนี ถ้าเกิดอารมณ์เศร้า ทำสมาธิ สำรวจความรู้สึกเศร้า อย่างไม่ยึดและ พยายามสาวถึงมัน อย่าหนี สำรวจความซับซ้อนของความรู้สึก เป็น วิธีเดียว ที่จัดการเมื่อเกิดความเศร้าครั้งต่อไป
5. การเพิ่มความจำนั้น จะต้องพยายามเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะจำให้ลึกซึ้ง ด้วย อย่าเพียงแต่ท่องจำ และหมั่นทบทวนอยู่เสมอ เพราะวันรุ่งขึ้น ก็จะ ลืมไปครึ่งหนึ่งแล้ว และวันมะรืนนี้ ก็จะลืมไปอีกครึ่งหนึ่งอีก ไปเรื่อย ๆ ถ้าไม่มีการทบทวน
6. ปกติการฝึกสมาธิ ก็จะเป็นการฝึกสติไปด้วยในตัว แต่ก็มีบทฝึกสติโดย เฉพาะ เช่น การเจริญสติตามแนวของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ โดย อาศัยหลักสติปัฏฐาน เป็นการเจริญสติแบบเน้นเรื่องการขยันทำความ รู้สึกตัวไปกับการเคลื่อนไหวของกาย เพื่อให้สติตื่นรู้อยู่เสมอ ไม่ต้องใช้ ความคิดอะไรเลย แต่ไม่ห้ามความคิดและไม่ตามความคิด ให้รู้เท่าทัน ความคิดและปล่อยให้ผ่านไป ไม่มุ่งเอาแต่ความสงบเพียงอย่างเดียว วิธีนี้ทำให้แม้นอนอยู่ก็ไม่ป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติธรรม
7. ท่านที่นอนไม่ค่อยหลับ ลองพักผ่อนด้วยการทำอานาปานสติ เช่น นอนที่เก้าอี้เอน ข้างหน้าต่าง ทำลมหายใจให้เป็นสมาธิ ด้วยลมหาย ใจนี้ จะเป็นการพักผ่อนที่ยิ่งกว่าการนอนหลับ ทำลมหายใจสักชั่วโมง จะดีกว่านอนหลับสัก 5 ชั่วโมง กำหนดลมหายใจให้ละเอียด ๆ จะหลับ ไปเลยก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ต้องหลับ ให้ระบบประสาทระงับ ความร้อนใน ร่างกายระงับ กล้ามเนื้อเส้นเอ็นระงับ นี่เป็นการพักผ่อน จะเรียกว่า หย่อนใจก็ได้ แต่ว่าเป็นการหย่อนใจในทางธรรม นี่เป็นการพักผ่อนที่ดี ไม่มีการพักผ่อนไหนจะดีเท่า การไปพักผ่อนด้วยการดูหนังฟังเพลงนั้น ไม่เรียกว่าไปพักผ่อน ป่วยการเปล่า ๆ
8. การหาความสุขทันใจนึก ก็ให้ทำอานาปานสติ ให้ลมหายใจระงับ ให้ ร่างกายระงับ ประสาทระงับ จะเป็นสุขได้ในเวลา 2-3 นาที ทันใจนึก จะไปหาอะไรมากินมาดื่ม ป่วยการเปล่า ๆ
9. เมื่อพบโชคร้าย หรือข่าวร้าย เข้ามา มีความกลัดกลุ้ม วิตกกังวล ก็ให้ทำอานาปานสติ ระงับมัน ขับไล่มันออกไป
10. เมื่อเจ็บป่วย ไม่สบาย ก็ให้ทำอานาปานสติ เพื่อระงับความปวด ความเจ็บป่วย ก็จะช่วยให้บรรเทาไปได้เป็นอย่างดีทีเดียว
โดยสรุป เห็นว่า ควรมาเพิ่มพลังให้ตนเอง ด้วยพลังสมาธิ ซึ่งมีหลายวิธีเฉพาะพุทธศาสนาก็มีถึง 40 วิธี ศาสนาหรือลัทธิอื่นก็มีมากมายวิธีด้วยกัน จะทำอานาปานสติ หรือสติกำหนดลมหายใจเข้าออกก็ได้ ซึ่งจะให้ประโยชน์แก่ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่ อยู่ในท้อง ถ้าแม่รู้จักทำอานาปานสติ เด็กในท้องก็ได้รับประโยชน์ เป็นเด็กที่แข็งแรง เข้มแข็ง เฉลียวฉลาด พอถึงวัยรุ่น ถ้ารู้จักทำอานาปานสติ จะไม่ไปเที่ยวเตร่ในที่ที่ไม่ควรไป วัยหนุ่มสาว ก็จะสดชื่น แจ่มใส เป็นคนสงบเยือกเย็น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ ก็เช่นกันจะมีประโยชน์ทั้งนั้น ในการเป็นพ่อบ้านแม่เรือน และดำเนินชีวิตในวัยชราไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนและจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบานได้ ก็ด้วยอำนาจของอานาปานสติ และจะเข้าใจใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตื่นจากอวิชชา ตื่นจากกิเลสทั้งปวง


virojanaram

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติเจ้าอาวาสวัดวิโรจนาราม(ปัจจุบัน)

ประวัติพระสังฆาธิการ
๑.ตำแหน่ง
ชื่อ พระครูไพโรจน์วรธรรม ฉายา ชิรารกฺโข อายุ ๕๒ ปี พรรษา ๒๙ วิทยฐานะ น.ธ.เอก ป.ธ.๓
วุฒิทางโลก ปริญญาตรี พธ.บ./ศน.บ.
วัดวิโรจนาราม ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดวิโรจนาราม

๒.สถานะเดิม
ชื่อ สว่าง นามสกุล คงทอง เกิดวันเสาร์ เดือน ๑๐ ปีกุน วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๒
บิดาชื่อ นายจัด มารดาชื่อ นางแนบ คงทอง ที่บ้านเลขที่ ๗๘ หมู่ที่ ๑ ตำบลสามตำบล อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

๓.บรรพชา
วัน อังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนสาม ปีมะเส็ง วันที่ ๒๖ เดือน เมษายน พ.ศ.๒๕๒๐
วัดสมควร ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระอุปัชฌาย์ พระครูวิสุทธิพิบูลย์เขต วัดสมควร ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

๔.อุปสมบท
วันอาทิตย์ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ เดือนสาม ปีวอก วันที่ ๑๕ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๓
พระอุปัชฌาย์ พระครูวิสุทธิพิบูลย์เขต วัดสมควร ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

๕.วิทยฐานะ
๑) พ.ศ.๒๕๔๕ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
๒) พ.ศ.๒๕๒๖ สอบไล่ได้ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียน วัดขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
๓) พ.ศ.๒๕๓๑ สอบไล่ได้ เปรียญธรรมประโยค ๓ สำนักเรียน วัดขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
๔) พ.ศ.๒๕๕๑ สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต(พธ.บ.) คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
๕) การศึกษาพิเศษ ภาษาอังกฤษ
๖) ความชำนาญ นวกรรม
virojanaram

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของศาสนา พุทธ-คริสต์

ความแตกต่างของศาสนา พุทธ-คริสต์
เห็นว่าคนไทยกำลังจะได้มีโอกาสชมภาพยนต์เรื่อง The Passion of the Christ ก็เลยอยากจะเตือนให้คนไทยได้รู้ว่า เราเองก็มีศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นของดีอยู่กับตัวแล้ว ดังนั้น จะซาบซึ้งปลาบปลื้มไปกับหนังนั้นไม่เป็นไร แต่อย่าได้เผลอไปคิดว่าศาสดาของเขาศาสนาของเขาประเสริฐกว่าทีเดียว ลองพิจารณาด้วยปัญญา และลองอ่านข้อความสั้นๆ ด้านล่างนี้ ที่เปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ และเราคนไทยชาวพุทธ จะภาคภูมิใจที่มีสิ่งดีงามเช่นศาสนาพุทธอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป
พุทธ-เชื่อในกฏแห่งกรรม การกระทำของตัวเอง
คริสต์-คริสต์เชื่อว่าเรื่องดีๆพระเจ้าประทานให้ เรื่องไม่ดีเกิดขึ้นเพราะมนุษย์ไม่เชื่อฟังพระเจ้า

พุทธ-พระไตรปิฎก กำหนดศีล 227 ข้อให้พระภิกษุถือปฏิบัติ
คริสต์-ไบเบิล ไม่มีข้อกำหนดวินัยของบาทหลวง

พุทธ-ทำความดีมากๆ ไม่มีข้อห้ามถ้าจะพัฒนาตัวเองเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีมากมายตามกาลเวลาที่ผ่านมาและในอนาคต
คริสต์-พระเจ้ามีองค์เดียว คนทั่วไปหมดสิทธิเป็นพระเจ้า

พุทธ-สอนให้ทำบุญด้วยทรัพย์ตามกำลังศรัทธา ทำแล้วตัวเองเดือดร้อน อานิสงน์ผลบุญน้อย บุญยังมีวิธีอื่นๆที่ไม่ต้องใช้ทรัพย์อีกหลายวิธี
คริสต์-การใช้ทรัพย์ทำบุญเป็นหน้าที่ ต้องจ่ายสิบเปอร์เซ็นของรายรับ ไบเบิลเขาว่าไว้

พุทธ-คำสอนมีมากมายขนาดเล่มใหญ่ๆระดับเอ็นไซโครพีเดีย 46 เล่ม
คริสต์-คำสอนมีสองเล่มระดับพ๊อคเก็ตบุ๊ค คัมภีร์เก่าหนาหน่อย คัมภีร์ใหม่บางมากจึงมักพิมพ์เป็นสองภาษา ไม่ทราบว่านิวเอ็ดดิชั่น จะเพิ่มเป็นสามภาษาหรือเปล่า สงสัยอยู่

พุทธ-เน้นให้ชำระจิตใจให้สะอาด หลุดจากกิเลศ ตัณหา เพื่อเกิดปัญญา ไม่หลงติดในอวิชชา เข้าสู่ทางพ้นทุกข์
คริสต์-เน้นให้รักพระเจ้า ไว้ก่อน

พุทธ-การฆ่าคนและสัตว์เป็นบาปหนัก เป็นข้อห้ามข้อแรกในศีล5 ขั้นพื้นฐาน พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่เคยฆ่าใคร
คริสต์-บัญญัติสิบประการมีห้ามฆ่าคนเท่านั้น แต่พระเจ้าท่านฆ่าผู้ไม่เชื่อได้ และการตัดสินของพระเจ้าอยู่เหนือบัญญัติ 10 ประการ พระเจ้าจึงให้ยิวทำสงครามฆ่าคนที่ไม่เชื่อได้ สงครามครูเสดกับมุสลิม สันตปาปาก็เป็นผู้เชิญชวนชาวคริสต์ไปทำสงคราม

พุทธ-ทำบาปแล้วผู้ที่จะอภัยให้คือ เจ้ากรรมนายเวรที่เราไปล่วงเกินไว้
คริสต์-ทำบาปกับใครไว้ ต้องไปขออภัยบาปจากพระเจ้า
คัดลอกมาจากเว็บไซด์:ลับคมความคิด.
http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=thinkboard&No=571 31 ก.ค. 53.20.24น.

virojanaram

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บารมี ๓๐ ทัศ



วัตถุมงคล,วัดวิโรจนาราม,

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พุทธศาสนามหายานในประเทศลาว

ประเทศลาวถือเป็นประเทศพี่น้องกับไทย มีวัฒนธรรมที่ไม่แตกต่างกันนัก เนื่องจากเคยเป็นพี่น้องกันมาแต่โบราณ ที่อพยพมาจากจีน เมื่อตอนอยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. ๖๑๒ ก็ได้นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาก่อน เมื่อถูกจีนรุกราน จึงได้อพยพมาอยู่ในเมืองล้านช้างประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๐ ก็กลับมาเป็นนับถือผีสางเทวดาดังเดิมอีก ต่อมาเมื่อเจ้าสุวรรณคำผงขึ้นเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕-๑๘๙๖ ทรงมีพระ โอรส ๖ พระองค์ ใน ๖ พระองค์นั้น เจ้าฟ้างุ้มมีลักษณะผิดแผกจากพระโอรสองค์อื่น คือมีฟันและลิ้นเป็นสีดำ โหรทำนายว่าเป็นกาลกินีจึงได้นำไปลอยแพ บังเอิญแพได้มาถึงเมืองขอม (กัมพุชา) ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาปาสมันตเถระ ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของพระเจ้าอินทปัตถ์ และได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอินทปัตถ์ พระนามว่า พระนางแก้วยอดฟ้า (ฟ้าหญิงคำหยาด) ต่อมาบิดาให้ไปตีเมืองล้านช้าง และสามารถยึดเมืองล้านช้างได้ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ แล้วขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๓ ของราชวงศ์ล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี แผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง พุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้างในยุคนี้ กล่าวคือพระนางแก้วยอดฟ้าพระมเหสีผู้ทรงเคยนับถือพุทธศาสนามาก่อน เมื่อครั้งอยู่ในเมืองขอมทรงเห็นประชาชนนับถือผีสางเทวดา และฆ่าสัตว์บูชาเซ่นสรวง จึงได้ทูลขอให้พระเจ้าฟ้างุ้มไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านชัาง พระเจ้าฟ้างุ้มทรงเห็นด้วย จึงให้ทูตไป ทูลขอนิมนต์พระสงฆ์เขมรเข้ามาเผยแผ่ในประเทศลาว และพระนางยังได้ขอร้องทางเขมรได้จัดส่งพระสงฆ์มาประกาศศาสนาแบบเถรวาท ซึ่งมีพระมหาปาสามานเจ้าเป็นประมุข เข้ามาเผยแผ่ในล้านช้าง พระพุทธศาสนาจึงได้เผยแผ่มาสู่ประเทศลาว และได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากพระเจ้าฟ้างุ้ม เนื่องจากพระเจ้าฟ้างุ้มเคยได้รับอุปการะจากพระมหาปาสามานเถระเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ด้วย พระมหาปาสามานเถระและคณะได้เดินทางออกจากเมืองกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒ ไปตามลำดับจนถึงเมืองแกพร้อมกับนำเอาพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ชื่อ พระบาง และพระไตรปิฎกไปด้วยเพื่อที่จะถวายแก่พระเจ้าฟ้างุ้ม เมื่อคณะสงฆ์เดินทางมาถึงเวียงจันทน์ เจ้าเมืองจันทน์ได้นิมนต์พักสมโภชพระบางอยู่ ๓ คืน ๓ วัน แล้วคณะสงฆ์ก็เดินทางต่อไปยังเวียงคำ อาราธนาพระเถระไปในเมือง ประชาชนได้มาสมโภชนพระบางกัน ๓ คืน ๓วัน ครั้นจะเดินทางต่างปรากฏว่าพระพุทธรูปไม่สามารถยกไปได้จึงเสี่ยงทายว่าเทวดาอารักษ์คงปรารถนาจะให้พระบางอยู่ที่เวียงคำพระเถระและผู้ติดตาม ได้มีเดินทางไปยังเมืองเชียงทอง ครั้งถึงเชียงทอง ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟ้างุ้มและพระมเหสี พระเถระและคณะจึงได้เผยแผ่พุทธศาสนาในลาวจนเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมา รัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ่มนั้นเต็มไปด้วยศึกสงคราม ทำให้ชาวลาวที่มีนิสัยรักสงบเกิดความเบื่อหน่าย จนในที่สุดพร้อมใจกันขับพระเจ้าฟ้างุ่มออกจากราชสมบัติ และอภิเษกพระราชโอรสทรงพระนามว่า "พญาสามแสนไท" ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และพระองค์ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้มีการจัดระเบียบบ้านเมืองตามแบบแผนวิธีการที่ได้รับจากประเทศไทยเป็นอันมาก ในด้านการพระพุทธศาสนา พญาสามแสนไททรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เช่นทรงสร้างวัดมโนรมย์ วัดอุโบสถ หอสมุด โรงเรียนปริยัติธรรม เป็นต้น และทรงเจริญพระราชไตรีกับทางกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนถึงกัมพูชา เวียดนาม ซึ่งถือได้ว่าในสมัยนี้เป็นสมัยแห่งการจัดสรรบ้านเมือง และการสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นอย่างมาก สมัยพระเจ้าวิชุลราชาธิปัต (พ.ศ. ๒๐๔๔-๒๐๖๓) บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบ กษัตริย์ทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ได้สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น สร้างวัดบรมมหาราชวังเวียงทอง วัดวิชุลราช เพื่ออัญเชิญพระบางจากเวียงคำมาประดิษฐานที่วัดนี้ ต่อมาทรงสร้างวัดโพธิ์สบ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระราชธิดาที่ได้สวรรคตไป ในรัชสมัยพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงมีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิกทรงเจ้าเข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร ทรงให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ทรงสร้างวัดสุวรรณเทวโลกแต่เนื่องจากประเพณีการนับถือผีนั้นมีมานานมาก และได้ฝังเข้าไปในจิตใจของประชาชนทั่วไป จึงยากที่จะเลิกอย่างเด็ดขาดได้ ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือ เชษฐวังโส พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๘๙ พระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๐ ด้วยถูกช้างล้มทับขณะประพาสป่า ทรงกลับนครได้เพียง ๓ สัปดาห์ก็สวรรคต เมื่อสวรรคตแล้ว พระโอรสทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน อาณาจักรลาวได้แตกเป็น ๒ ฝ่าย คือ อาณาจักรฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ พระเจ้าไชยเชษโฐแห่งล้านนา จึงยกทัพตีกรุงล้านช้าง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดบุปผาราม เชียงใหม่ รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงค์) และพระแก้วขาวไปด้วย เมื่อเสด็จถึงล้านช้าง ทรงยึดราชสมบัติจากเจ้าครองนครทั้งสองได้ ด้วยความเกรงกลัวของเจ้าครองนครทั้งสอง จึงทรงครองนครทั้งสองซึ่งเรียกว่า กรุงศรีสัตนาคตหุต พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติ นับเป็นมหาราชองค์ที่ ๒ ของลาว ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระนามว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช"พระพุทธศาสนาในยุคของพระเจ้าเชษฐาธิราช นับว่ามีความเจริญสูงสุด ทรงได้สร้างวัดสำคัญมากมาย ในกำแพงเมืองมีวัดอยู่ประมาณ ๑๒๐ วัด และยังได้สร้างวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ที่นำมาจากเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนี้ได้มีการแต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น สังสินชัย การเกต พระลักพระราม เป็นต้น
สมัยนี้ราชอาณาจักรไทยได้มีความสัมพันธ์ลาวอย่างแน่นแฟ้น ได้ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับพม่า ได้สร้างเจดีย์ "พระธาตุศรีสองรัก" ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งความเป็นพี่เป็นน้องกัน ของสองอาณาจักร พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงคำมาอยู่ที่เวียงจันทน์ ได้ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระแซกคำ (พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงค์) ไว้ที่เวียงจันทน์ เรียกว่าเวียงจันทน์ล้านช้าง ส่วนพระบางประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง จึงได้ชื่อว่าหลวงพระบางมาจนถึงบัดนี้ บางครั้งก็เรียกชื่อว่าล้านช้างหลวงพระบาง และได้สร้างวัดเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตขึ้นเป็นพิเศษ พระองค์ได้ทรงสร้างพระธาตุหลวง ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นยอดเยี่ยมของลาวเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๙ ซึ่งต่อมาได้ถูกพวกปล้นจากยูนานทำลายเสียหายไปมาก นอกจากพระองค์จะได้ทรงสร้างพระธาตุ อื่น ๆ และพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อีกมากมาย เช่น
พระเจ้าองค์ตื้อ ที่เวียงจันทน์ พระเจ้าองค์ตื้อ ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระเสริม พระสุก พระใส พระอินทร์แปลง พระองค์แสน ทรงสร้างวัดพระธาตุ ที่จังหวัดหนองคาย และพระธาตุที่จมน้ำโขงอยู่ พระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย สร้างวัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย และพระประธานในโบสถ์ นามว่า พระไชยเชษฐา พระศรีโคตรบูร ที่แขวงคำม่วน พระธาตุอิรัง ที่แขวงสุวรรณเขต (สุวรรณเขต) พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม เป็นต้น
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงประคับประคองนำราชอาณาจักรล้านช้างผ่านพ้นภัยการเป็นเมืองขึ้นของพม่าไปได้ ตลอดรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าในขณะนั้นอาณาจักรล้านนา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๑) และอาณาจักรศรีอยุธยา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๗) ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว แต่หลังจากพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๑๔ พอมาถึง พ.ศ. ๒๑๑๗-๒๑๑๘ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ยกทัพมาตีลาวและได้รับชัยชนะ และทรงนำโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งประสูติในปีที่สวรรคต ไว้เป็นประกันที่หงสาวดีด้วย ต่อจากนั้นมาหลายปีแผ่นดินลาวก็วุ่นวายด้วยเรื่องราชสมบัติ จนพ.ศ. ๒๑๓๔ พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปเชิญเจ้าชายหน่อแก้วโกเมน ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ประเทศพม่ากลับมาครองราชย์ และในเวลานั้นพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลง พม่าเริ่มอ่อนแอลง และเจ้าหน่อแก้วโกเมนขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. ๒๑๓๕ และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าต่อไป พระเจ้าสุริยวงศาเป็นกษัตริย์ที่มีความปรีชาสามารถ และเข้มแข็ง สามารถปกครองให้ลาวสงบเรียบร้อยได้ ในสมัยนี้วัฒนธรรมรุ่งเรือง ศิลปกรรม ดนตรี ประติมากรรมต่าง ๆ เจริญแพร่หลาย หลังจากสิ้นราชกาลพระเจ้าสุริยวงศา ใน พ.ศ. ๒๒๓๕ อาณาจักรลาวได้แตกเป็น ๒ อาณาจักร คือ เมืองหลวงพระบาง กับ เมืองเวียงจันทน์ ทั้ง ๒ อาณาจักร ต่างระแวงกัน และคอยหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกัน จนถึงกับไปผูกมิตรกับต่างประเทศเพื่อกำจัดกันและกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งเข้ากับพม่า ฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย หรือฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย ฝ่ายหนึ่งเข้ากับญวน เป็นต้น จนในที่สุดเมื่อไทยสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นมิตรกับหลวงพระบางกู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว ก็ยกทัพมาตีเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพันธมิตรของพม่า เข้ายึดครองได้ในพ.ศ.๒๓๒๑ และได้นำเอาพระแก้วมรกตไปยังอาณาจักรไทยด้วย อาณาจักรเวียงจันทน์ได้สลายตัวลงเป็นดินแดนของไทยใน พ.ศ. ๒๓๗๑ ส่วนอาณาจักรหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองออกของไทยได้ส่งทูตไปอ่อนน้อม และมอบบรรณาการแก่เวียดนาม พ.ศ. ๒๓๗๔ กลายเป็นข้ออ้างของฝรั่งเศส ผู้เข้ายึดครองเวียดนามในสมัยต่อมา ที่จะเข้าครอบครองลาวต่อไปด้วย อาณาจักรลาวได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสโดยลำดับ เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ จนหมดสิ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๗ ลาวถูกฝรั่งเศสครอบครองอยู่ ๔๕ ปี จึงได้เอกราชกลับคืนโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ มีชื่อเป็นทางการว่า “พระราชอาณาจักรลาว” อิทธิพลของพุทธศาสนาต่อประเทศลาว
๑. ด้านสังคม
พระพุทธศาสนาได้ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นในสังคมชาวลาว พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมประเพณี ความคิด ความเชื่อของประชาชนลาว พิธีกรรมและวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ประเพณีทำบุญธาตุหลวง เป็นประเพณีประจำชาติที่เชิดหน้าชูตาของประเทศลาว ด้านศิลปวัฒนธรรม ได้เกิดมีศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามากมาย ล้วนมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นพระพุทธศาสนายังมีบทบาทในการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ เช่นในชุมชนต่าง ๆ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของชุมชนในด้านให้คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านการสงเคราะห์ปัจจัยสี่แก่ประชาชน วัดได้เป็นศูนย์กลางการพบปะของชาวบ้านและทางราชการ เป็นต้น
๒. ด้านการเมือง
พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างแยกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด พุทธศาสนาในประเทศลาวนั้น เมื่อเสื่อมโทรมก็เนื่องจากได้รับการบีบคั้น ทำลายจากทางการเมือง เช่นในคราวที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเมืองประเทศลาว ได้ทำการปฏิวัติใหม่ ได้ทำลายล้างสถาบันสำคัญของประเทศ ได้แก่สถาบันศาสนา และสถาบันกษัตริย์ มีพระสงฆ์ถูกฆ่าตายจำนวนมากมาย บางส่วนต้องลาสิกขาออกมาเพื่อเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก็ได้รับการสนับสนุนจากทางการเมืองเช่นเดียวกัน ทั้งที่ปรากฏในอดีตและปัจจุบัน บทบาทของพุทธศาสนาในยุคคอมมิวนิสต์ครอบครอง ได้แก่การเอาพระสงฆ์เป็นเครื่องมือทางการเมือง เนื่องจากพระสงฆ์เป็นผู้ที่ประชาชนให้ความเคารพเชื่อถือ โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขณะนั้นได้ให้พระสงฆ์เผยแผ่แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ไปในขณะเทศบรรยาย ไดัจัดให้มีการปาฐกถาในที่ต่าง ๆ โดยมีพระสงฆ์ร่วมอยู่ด้วยในการเผยแผ่แนวคิดคอมมิวนิสต์นั้น ถูกบังคับให้ประยุกต์คำสอนทางพุทธศาสนาเข้ากับคำสอนของคอมมิวนิสต์ พระสงฆ์หลายรูปจำเป็นต้องทำตาม บางรูปขัดขืนก็จะถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม ในปัจจุบันนี้ บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบ พระพุทธศาสนาก็ได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐเป็นอย่างดี มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาของสงฆ์ขึ้น เป็นวิทยาลัยสงฆ์ เช่นวิทยาลัยสงฆ์ประจำกรุงเวียงจันทน์ เป็นต้น
๓. ด้านเศรษฐกิจ
อิทธิพลพุทธศาสนาด้านเศรษฐกิจนั้น ด้านหลักธรรมที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ความขยัน ประหยัด อดออมนั้น ดูจะไม่แตกต่างจากประเทศไทยนัก เพราะเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมประเพณีไม่แตกต่างกันนัก แต่ลักษณะของประเทศลาวปัจจุบันอยู่ในฐานะประเทศปิด ระบบเศรษฐกิจจึงเป็นการพึ่งพาตัวเองมากกว่าการพึ่งพาจากต่างประเทศ เศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นระบบเกษตรกรรม
เอกสารอ้างอิง
1.ชิตมโน. พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๓๓
2.ทรงวิทย์ แก้วศรี. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เล่ม ๑๐ พระพุทธศาสนาในอินโดจีน . กรุงเทพฯ: การศาสนา. ๒๕๓๐.
3.พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา, ๒๕๔๐.
4.พระมหาอุทัย ธมฺมสาโร. พระพุทธศาสนาและโบราณคดีในเอเซีย. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร. ๒๕๑๖.
5.พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
6.เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๒ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=3604 24 พ.ค. 53 16.36 น. พระจิตติเทพ ฌานวโร
พุทธศาสนาในประเทศลาว - DMC Forum
virojanaram

ศาสนาในประเทศลาว

ชาวลาวนับถือพุทธศาสนาประมาณร้อยละ ๕๐ นับถือผีและอื่น ๆ ประมาณร้อยละ ๕๐
นับแต่ลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบการปกครองประชาธิปไตยแผนใหม่ที่ยึดถือทฤษฎีมาร์กซ์ - เลนิน เป็นหลักในการวางรูปการปกครอง ศาสนาคริสต์ถูกกำจัดเป็นอันดับแรก
พุทธศาสนา ทางการยังไม่ค่อยกล้าเข้าไปแตะต้องอย่างชัดแจ้งนัก จึงได้ดำเนินนโยบายให้พระภิกษุสามเณรมีส่วนร่วม ในสังคมนิยมมากขึ้น การจัดงานบุญต่าง ๆ ต้องจัดอย่างง่าย ๆ จะทำใหญ่โตอย่างเดิมไม่ได้ เพราะจะเป็นการสิ้นเปลือง และเสียเวลาในการทำมาหากิน
ลาวมีวัดในพระพุทธศาสนาอยู่ทั่วประเทศประมาณ ๓,๐๐๐ วัด มีพระภิกษุสามเณรอยู่ประมาณ ๑๕,๐๐๐ รูป
ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ทางการลาวได้กำหนดนโยบายทางด้านศาสนาใหม่ที่สำคัญคือ
- จำกัดสิทธิและพิธีทางศาสนาให้เหลือน้อยที่สุด
- ในแต่ละเมืองให้มีวัดได้ไม่เกินสามวัด แต่ละวัดมีพระภิกษุสามเณรได้ไม่เกิน ๑๒ รูป
- การแสดงพระธรรมเทศนา ต้องมีสาระสำคัญ ทั้งตามนโยบายของรัฐ และตามจารีตประเพณีอย่างละเท่า ๆ กัน
- ห้ามพระภิกษุสามเณรรับจตุปัจจัยจากการประกอบพิธีทางศาสนา
คริสตศาสนา ฝรั่งเศสนำเข้าไปเผยแพร่สมัยที่ลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ประชาชนลาวนับถือคริสตศาสนารองลงมาจากพุทธศาสนา เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบคอมมิวนิสต์ คริสตศาสนาได้ถูกกำจัดเป็นอันดับแรกด้วยการขับไล่นักบวชในคริสตศาสนาออกนอกประเทศ โดยกล่าวหาว่า บาทหลวงเป็นพวกสายลับของประเทศจักรวรรดินิยม ต้องขจัดออกไป ส่วนโบสถ์ในคริสตศาสนาก็ใช้เป็นที่ทำการต่าง ๆ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของคริสตศาสนาถูกรื้อถอน และทำลายหมด
ศาสนาและลัทธิอื่น ประชาชนลาวนับถือผีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในหมู่ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ การนับถือผี และบรรพบุรุษของแต่ละเชื้อชาติ แตกต่างกันออกไปตามขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบทอดกันมา และได้นำมาปะปนกันกับพุทธศาสนาอย่างแยกกันไม่ออก
ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ คณะปกครองได้ออกระเบียบ และวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับสาสนา เพื่อบีบบังคับยิ่งขึ้นโดยกำหนดให้วัดต้องเสียภาษีให้รัฐวัดละ ๕๐ กีบต่อปี พระภิกษุสามเณรต้องเสียภาษีให้รัฐรูปละ ๑๐ กีบ ต่อเดือน ถาขัดขืนจะได้รับโทษถึงขั้นต้องลาสิกขา ทุกรูปต้องทำงานปลูกผักสวนครัว ไม่ส่งเสริมให้มีการบวชเพิ่มขึ้น ผู้ที่ต้องการบวชต้องขออนุญาตไปยังประธานเมือง ซึ่งคณะเมืองจะเป็นผู้พิจารณา
จารีตประเพณี
วัฒนธรรมจารีต ที่มีการปฎิบัติสืบต่อกันมา เรียกว่า ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ฮีตยี่คองเจียว ฮีตไภ้คองเชย ฮีตผัวคองเมีย
นอกจากบุญประเพณีสิบสองเดือน ที่ปรากฎในฮีตสิบสองแล้ว ชาวลาวยังมีการทำบุญอื่น ซึ่งนับว่าเป็นประเพณีของลาว คู่กับฮีตสิบสองคือ ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีบุญกองบวชกองหด ประเพณีแต่งงาน (แต่งดอง) ประเพณีบายสีสู่ขวัญ ประเพณีบุญสู่วัวสู่ขวัญควาย ประเพณีวันกรรม (ออกลูก) ประเพณีวันเฮือนดี (ศพคนตาย) ประเพณีผิดผี ประเพณีข่วง (บ่าวสาวลงข่วง) ประเพณีเต้าข่วง (เลี้ยงผี) ประเพณีแฮกนาขวัญ ประเพณีเลี้ยงผีปู่ผีตา ประเพณีเลี้ยงผาตาแฮก และเลี้ยงผีปู่ตา

ที่มา ประเทศลาว 1: http://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/neighbour/lao1.htm , , 24 พ.ค. 53, 17.42 น. พระจิตติเทพ ฌานวโร

virojanaram

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การทำบุญ

การทำบุญ
ปุจฉา การทำบุญนั้น หมายความถึงการทำอะไร หรือ อีกนัยหนึ่งนั้น คืออะไร และบุญนั้นอยู่ที่ไหน เก็บไว้อย่างไร และแสดงออกได้อย่างไร
วิสัชนา การทำบุญคืออะไร การทำบุญนั้นตามสามัญสำนึก ก็หมายถึง การทำความดีทุกอย่างที่บุคคลได้กระทำลงไป โดยมีเหตุ คือการทำความดี เกิดผลดี คือความสุขจากการทำความดี แต่แล้วคำถามต่อไปก็จะมีอีกว่า ความดีของใคร หรือความดีของคนพวกไหน ทั้งนี้ เพราะปรากฏว่า สิ่งที่เขาว่า เขาทำความดี แต่อาจไม่ใช่ความดีในความหมายของเราก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น บางศาสนาเขาฆ่าสัตว์เพื่อบูชาผู้ยิ่งใหญ่ในสรวงสวรรค์ของเขาเป็นความดี แต่เราว่า เป็นการผิดศีลข้อหนึ่งของเราก็คือ การฆ่าสัตว์ พวกฝรั่งเวลากินอาหารแสดงความยินดี เขาก็ดื่มเหล้ากัน หรือในพิธีศาสนาบางเวลาเขาก็ดื่มเหล้าองุ่นกัน แต่เราว่าผิดศีลข้อ ๕ พวกฝรั่งในสวีเดนหรือประเทศอื่น เขาไม่ถือในเรื่องการสำส่อนทางเพศ มีการแลกคู่ผัวเมียกันได้ อย่างนี้เราถือว่าผิดศีลข้อ ๓ ของเรา ดังนั้น เราจึงต้องกล่าวเพิ่มเติมถึงความหมายของการทำบุญของเราด้วยว่า “การทำบุญ คือ การทำความดีชนิดที่ทำลายความเห็นแก่ตัวและสันดานไม่ดีของตนเอง และเพื่อละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากตน”
คำอธิบายเพิ่มเติม ตามธรรมดาสันดานของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาจะมีกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ อยู่เสมอ และชอบทำความไม่ดีอยู่เป็นประจำที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือ การยิ่งนกตกปลาของเด็กวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ที่มีนิสัยชอบโดยสารเครื่องบินต่าง ๆ เมื่อมีการเสริฟอาหารเช้า กลางวัน หรือเย็น มักจะถือโอกาสแหนบเอาช้อนหรือซ่อม หรือมีดเล็ก ๆ ในถาดอาหารไปเสมอ เพราะมันสวยดี กะทัดรัดดี หรือไปอยู่ตามโรงแรมต่าง ๆ ก็หยิบผ้าเช็ดตัว ที่เขี่ยบุหรี่หรือแก้วน้ำเล็ก ๆ ไปเสมอ ทั้ง ๆ ที่ท่านเหล่านั้นมีฐานะดี แต่ความโลภอยากได้มันฝังลึกอยู่ในใจ จึงอดไม่ได้เมื่อมีโอกาส (เมื่อเอาไปบ้านแล้วก็ไม่ได้ใช้เลย เนื่องจากตนเองมีอยู่มากแล้วเป็นต้น) พวกพ่อค้าแม่ขายมักจะพูดโกหกเป็นประจำ เพราะถือเป็นเรื่องธรรมดา เช่นว่า “ไม่ได้หรอกค่ะ ราคานี้ขาดทุน” (แต่ความจริงนั้นกำไรน้อยไปหน่อย พูดเท็จเสียเคยตัว)
การที่มีการกระทำความไม่ดีดังกล่าวนั้น เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีอนุสัยกิเลสชนิดละเอียดซ่อนอยู่มิดชิดในใจ และฝังลึกอยู่ในสันดาน และคนก็ปล่อยตามใจตนเอง ขาดความยั้งคิด เหมือนพายเรือตามน้ำ ไม่ต้องออกแรง เรือก็ลอยไปได้ การทำความดีนั้นเหมือนพายเรือทวนน้ำ ต้องออกแรง ต้องใช้แรง เรือจึงจะเคลื่อนที่ฝ่ากระแสน้ำขึ้นไปได้ อาจกล่าวได้ว่า การทำความดีนั้นต้องออกแรงทั้งสิ้น จึงจะสำเร็จไปได้ เป็นการออกแรงทางกาย ทางวาจา หรือทางใจก็ได้ ตัวอย่าง การทำความดีชนิดที่ทำลายความเห็นแก่ตัวละ โลภะ โทสะ โมหะ ได้แก่การถือศีล ๕ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ และดื่มสุราเมรัย เหล่านี้เป็นการทำความดีในพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ดี คำถามต่อไปมีอีกว่า การนั่งสมาธิทางธรรมะนั้น เป็นการทำความดีหรือไม่ ตอบได้ว่า เป็นการทำความดีของเรา เพราะตามธรรมดาคนเราจะเห็นแก่ตัว อยากจะนอนร่ำไป การนั่งสมาธิเป็นการฝืนความรู้สึกอยากนอน อยากสบาย ฝืนความขี้เกียจของตนเอง ตั้งใจทำเพื่อให้จิตใจสงบ ก็เป็นการทำความดีของเราอย่างหนึ่ง
คนเรานี้จิตใจมักจะไหลไปตามสันดานอกุศล จึงได้เบียดเบียนกันมาก เห็นแก่ตัวเอาเปรียบผู้อื่น คิดเอาแต่ประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง ผู้อื่นจะเดือดร้อนอย่างไรก็ช่าง ขอให้ตนเองได้สมปรารถนากับสิ่งที่ตนอยากได้ก็แล้วกัน ท่านที่ขับรถยนต์เองในท้องถนน จะเห็นความเห็นแก่ตัวของคนขับรถยนต์ต่าง ๆ อย่างชัดเจน เห็นสันดานของคนว่าเป็นอย่างไร
ตัวบุญอยู่ที่ไหน เก็บไว้อย่างไร และแสดงออกได้อย่างไร ?
ตัวบุญ หรือ ความดี นี้เป็นนามธรรม มีและเก็บไว้ที่จิตใจของเราเมื่อคนนั้นได้ทำบุญกุศล ซึ่งเป็นความดี ความดีนั้นได้รับการบันทึกโดยสัญญาเจตสิก และเก็บไว้ที่จิต (ความดีไม่ได้เก็บไว้ที่สมอง เพราะสมองเป็นศูนย์ประสาท เป็นสสารและพลังงาน เป็นวัตถุ เป็นรูปธรรม ย่อมจะมีความรู้สึกนึกคิด เห็น ได้ยิน หรือรู้อารมณ์ไม่ได้เลย) บุญ กุศล หรือความดีเมื่อประทับอยู่ในจิตใจของคนนั้นแล้ว เมื่อใดที่เขาระลึกถึงความดีนั้น ๆ เขาจะเกิดความปลาบปลื้มยินดี มีความสุข ที่เรียกว่าเป็นกุศลจิต มีผลทำให้เกิดการแสดงออกทางวาจา และทางกาย ได้แก่ การพูดจาไพเราะ น่าฟัง แสดงถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตา และกรุณาแก่ผู้อื่น และมีการแสดงออกทางกายให้เห็นได้อีกด้วย ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่ทั่ว ๆ ไปแล้ว
โดย..... ศาสตราจารย์ นายแพทย์จำลอง หะริณสุต
ผู้เรียบเรียง : การทำบุญ. http://www.dhamboon.com , 26 พ.ค. 53 , 09.09 น. พระจิตติเทพ ฌานวโร.
virojanaram

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลวงพ่อผุด


พระพุทธรูปบูชาองค์นี้เด็กวัยรุ่นไปหาปลาในคลองที่ไหลผ่านข้างวัดไปพบเข้าในน้ำซึ่งเป็นวังเล็กๆและก็ไม่กว้างแต่ลึกประมาณ๒-๓ เมตรvirojanaram

กุฏีหลังใหม่


virojanaram

ทางเข้าวัดวิโรจนารามด้านใน


ลานปฏิบัติธรรม

หน้าบรรณอุโบสถวัดวิโรจนาราม


virojanaram

พ่อท่านเขียว

ศาลาทำบุญสำหรับชาวตำบลปากหมากกำลังสร้างใหม่


virojanaram

อุโบสถวัดวิโรจนาราม


virojanaram